EXIF (อี เอ็ก ไอ เอฟ) หรือ Exchangeable Image Files Format (เอ็กซ์เชนจ์อีเอเบิล อิมเมจ ไฟล์ ฟอร์แมต) คืออะไร

วัฒนาการของกล้องถ่ายภาพเริ่มจากมีผู้สังเกตุเห็นภาพเหมือนในลักษณะกลับหัวบนผนังภายในห้องที่ทึบและอับแสง ภาพดังกล่าวเกิดจากแสงของภาพวิวภายนอกลอดผ่านรูเล็ก ๆ ที่ผนังห้องไปก่อเกิดภาพเหมือนบนผนังอีกด้านที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของห้อง
ต่อมาได้มีการนำหลักการดังกล่าวมาประดิษฐ์เป็นกล้อง ออบสคิวรา Camera Obscura (คาเมร่า ออบสคิวรา) คำว่า camera มีความหมายว่า ห้อง ส่วน Obscura มีความหมายว่า ความมืด นั้นเองหลังจากนั้นกล้องก็การพัฒนามาจนถึงกล้องใช้ฟิล์ม เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และเป็นภาระให้กับช่างภาพไม่น้อย แต่จำเป็นต้องบันทึกเพราะว่าเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะใช้ในการวิเคราะห์เกี่ยวกับภาพถ่าย ซึ่งในการถ่ายภาพด้วยฟิล์มเราไม่สามารถมองเห็นภาพขณะถ่ายภาพได้ ฟิล์ม 1 ม้วนมี 36 ภาพ ต้องถ่ายให้หมด 36 ภาพ แล้วก็ส่งไปร้านถ่ายภาพเพื่อล้างอัดขยาย จึงจะเห็นภาพได้ สวยหรือไม่สวย แก้ไขไม่ได้ ถ้าจะแก้ไขก็ใช้ข้อมูลรายละเอียดที่บันทึกไว้มาแก้ไขภาพที่จะถ่ายในคราว แต่อย่างไรก็ตามถึงกล้องฟิล์มก็ยังนิยมกับการถ่ายภาพของคนคราสสิค
แต่เมื่อถึงมาถึงยุคภาพถ่ายดิจิทัล เมื่อเราถ่ายภาพ กล้องจะบันทึกภาพและข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับภาพไปพร้อม ๆ กัน และสามารถดูข้อมูลรายละเอียดเบื้องต้นจากจอ LCD (แอล ซี ดี) ของกล้องได้เลย การแก้ไขภาพก็สามารถทำได้หลังจากดูภาพจากจอ LCD ไม่พอใจหรือไม่ถูกต้องตามต้องการ ลบแล้วก็ถ่ายใหม่ แต่ถ้าต้องการดูข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับภาพมากกว่านั้น ก็นำภาพเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วเปิดโปรแกรม ACDSee (เอ ซี ดี ซี) ก็พบจะพบข้อมูลรายละเอียดของภาพ ข้อมูลรายละเอียดที่กล้องบันทึกนี้เราเรียกว่า EXIF (อี เอ็ก ไอ เอฟ)
EXIF (อี เอ็ก ไอ เอฟ) หรือ Exchangeable Image Files Format (เอ็กซ์เชนจ์อีเอเบิล อิมเมจ ไฟล์ ฟอร์แมต) คือ ค่าต่างๆ ของรูปภาพที่ถ่ายโดยกล้อง ดิจิทัล เป็น {--mlinkarticle=3102--}Tag{--mlinkarticle--} ที่เก็บข้อมูลของการถ่ายรูปหรืออัดเสียงหรืออัดวีดีโอไว้ ในวงการกล้องดิจิทัล สมัยก่อนจะมี Exif เฉพาะไฟล์ TIFF เท่านั้น ที่สมัยก่อนตอนใช้ฟิล์มยังไม่เป็นที่นิยมเพราะ Exif พึ่งจะถูกพัฒนาเวอร์ชันแรกในปี 1998 โดย JEIDA (เจ อี ไอ ดี เอ) หรือ Japan {--mlinkarticle=3052--}Electronic{--mlinkarticle--} Industries Development {--mlinkarticle=2811--}Associations {--mlinkarticle--} (เจแปน อิเล็กโทรนิก อินดัสทรี ดีเวลลอปเม้นท์ เอซโซชิเอชั่น) ต่อมาในปี 2002 JEITA ได้พัฒนาตัวใหม่คือเวอร์ชันสองออกมาในปี 2002 และล่าสุดคือเวอร์ชันสามในปี 2010 โดยความร่วมมือของ JEITA และ CIPA (ซี ไอ พี เอ) หรือ Camera & Imaging Products Association (คาเมร่า แอน อิมเมจจิ้ง โปรดักส์ เอซโซชิเอชั่น)
ค่า EXIF จะประกอบไปด้วย 4 หัวข้อใหญ่ๆ ดังนี้
1 วันและเวลาที่ถ่ายภาพ
2 ค่าต่างๆ ของกล้องที่ใช้ถ่ายภาพ และ ค่าต่างๆ ที่ใช้ในการถ่ายภาพ เช่น ความเร็วของชัดเตอร์, ขนาดของรู้รับแสง, ความไวแสงของกล้อง เป็นต้น
3 สถานที่ที่ถ่ายภาพ โดยการใช้ {--mlinkarticle=1924--}GPS{--mlinkarticle--} (จี พี เอส) เป็นตัวรับค่าสัญญาณ แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก
4 รายละเอียดของภาพ และ ลิขสิทธิ์ภาพ แต่ค่าต่างๆ ในกลุ่มนี้ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก จะมีเฉพาะในกล้องถ่ายภาพดิจิทัล บางรุ่นเท่านั้น
การทำงานของ EXIF
กล้องดิจิตอลของคุณจะจดจำในสิ่งที่คุณปรับตั้งในการถ่ายภาพนั้นๆ อาทิ ค่าช่องรับแสง ระยะทางยาวโฟกัส กล้องที่ใช้ รุ่นกล้องที่ใช้ และค่าอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งการปรับตั้งและคุณลักษณะต่างๆ เหล่านี้จะถูกบันทึกในรูปแบบ EXIF และเซฟลงบนสื่อบันทึกอีกที
จากบทความข้างต้นนี้น่าจะทำให้คุณ เข้าใจกับคำว่า EXIF มากขึ้นนะครับ เพราะมันมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะภาพถ่าย ค่าของภาพเราก็จำไม่ได้หรอกครับว่าปรับการถ่ายภาพไปแค่ไหน แต่เมื่อมีการเข้ารหัส EXIF นี้ก็ทำให้ข้อมูลนั้นติดอยู่ในภาพตลอด ยังไงลองค้นภาพของคุณมาเปิดดู EXIF ไฟล์ดูนะครับ
ภาพประกอบ : digital-photo-secrets.com